br>

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

หนว่ยการเรียนรู้ที่ 4

บุคคลสำคัญสมัยรัตนโกสินทร์





 

 
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 
 
                                   พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า ด้วง  ประสูติในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙  พระบิดามีพระนามเดิมว่า ทองดี พระมารดาชื่อ หยก
                เมื่อทรงมีพระชันษา ๒๑ พรรษา  ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ๓ เดือน  เมื่อลาสิกขาก็ทรงเข้ารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ครั้นถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศทรงได้รับตำแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตร  ประจำเมืองราชบุรี  พระองค์ทรงมีความชำนาญในการรบอย่างยิ่ง  จึงได้รับพระราชทานปูนกำเหน็จความดีความชอบให้เลื่อนเป็นพระราชวรินทร์  พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยายมราชว่าที่สมุหนายก  เจ้าพระยาจักรี  และในที่สุดได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก   มีเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม  เมื่อทรงตีได้เวียงจันทร์   พระองค์ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)  จากเมืองจันทน์มายังกรุงธนบุรีด้วย  ต่อมาเกิดเหตุจลาจลได้สำเร็จ  ข้าราชการและประชาชนจึงอัญเชิญเป็นพระมหากษัตริย์แทนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
 
                                     พระราชกรณียกิจ
 
           พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเป็นทั้งนักปกครองและนักการทหารที่ยอดเยี่ยม  ทรงแต่งตั้งให้เจ้านายที่เคยผ่านราชการทัพศึกมาทำหน้าที่ช่วยในการปกครองบ้านเมืองโปรดเกล้าฯ
                  - ให้ชำระกฎหมายให้สอดคล้องกับยุคสมัยของบ้านเมือง คือ กฎหมายตราสามดวง
                 - รวมถึงการชำระพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์อันเป็นเครื่องส่งเสริมความมั่นคงของกรุงรัตนโกสินทร์
                  - นอกจากนี้พระองค์ยังคงทรงส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติ  ทั้งด้านวรรณกรรมที่ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการประพันธ์  โดยพระราชนิพนธ์  บทละครเรื่องรามเกียรติ์  บทละครเรื่องอุณรุท  บทละครเรื่องอิเหนา  บทละครเรื่องดาหลัง  เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง  นอกจากด้านวรรณกรรมแล้ว  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชยังทรงส่งเสริมศิลปะด้านสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  และนาฏกรรม
                 - ภายหลังที่ครองกรุงรัตนโกสินทร์เพียง ๓ ปี  ได้เกิดศึกพม่ายกทัพมาตีเมืองไทย  พระองค์ทรงจัดกองทัพต่อสู้จนทัพพม่าแตกพ่าย  ยังความเป็นเอกราชให้กับแผ่นดินไทยมาจนทุกวันนี้  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นต่อพสกนิกรชาวไทย เป็น มหาราช อีกพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยและทรงเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์  ที่ปกครองบ้านเมืองให้เกิดความสงบสุขจวบจนปัจจุบัน



 
 
                        พระราชประวัติ        พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ  เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒  กับกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑๗  ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจะเสด็จสวรรคตนั้น  พระองค์มิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่เจ้านายพระองค์ใด  ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่จึงปรึกษายกราชสมบัติให้แก่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ฝ่ายเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งทรงผนวชตามราชประเพณีก่อนพระราชบิดาสวรรคตไม่กี่วัน จึงได้ดำรงอยู่ในสมณเพศต่อไปถึง ๒๖ พรรษา ทำให้พระองค์มีเวลาทรงศึกษาวิชาการต่างๆ อย่างมากมาย  โดยเฉพาะภาษาต่างประเทศ เป็นเหตุให้ทรงทราบเหตุการณ์โลกภายนอกอย่างกระจ่างแจ้ง  ทั้งยังได้เสด็จธุดงค์จาริกไปนมัสการปูชนียสถานตามหัวเมืองห่างไกล ที่ทำให้ทรงทราบสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรเป็นอย่างดี               
               เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่จึงมีมติให้อัญเชิญเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นครองราชย์สมบัติ ในวันที่  ๒  เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔  ขณะที่มีพระชนมายุได้ ๔๖ พรรษา  
 
                                    พระราชภารกิจที่สำคัญ
 
           - การทำสนธิสัญญากับอังกฤษ  เพื่อแลกกับเอกราชของประเทศ  ยอมให้ตั้งสถานกงสุลและมีสิทธิสภาพนอกราชอาณาเขต  ยอมเลิกระบบการค้าผูกขาดเป็นการค้าเสรี  เก็บภาษีขาเข้าในอัตราร้อยชักสาม
                  - ทรงปรับปรุงการรักษาความมั่นคงของประเทศ  มีการตั้งข้าหลวงปักปันพระราชอาณาเขตชายแดนด้านตะวันตกร่วมกับอังกฤษ  ทรงจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวยุโรปมาสำรวจทำแผนที่พระราชอาณาเขตชายแดนด้านตะวันออก  จ้างนายทหารยุโรปมาฝึกสอนวิชาทหารแบบใหม่  ทรงให้ต่อเรือกลไฟขึ้นใช้หลายลำและผลจากการทำสัญญากับอังกฤษทำให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองมาก
                  - พระองค์จึงขยายพระนครออกไปทางทิศตะวันออก  ได้มีการขุดคลองและสร้างถนนขึ้นมากมาย เช่น คลองผดุงกรุงเกษม คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสะดวก ถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร
                 - ได้เกิดกิจการแบบตะวันตกขึ้นหลายอย่าง เช่น ใช้รถม้าเดินทาง มีตึกแบบฝรั่ง มีโรงสีไฟ โรงเลื่อยจักร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการรับชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการ  ออกหนังสือราชกิจจานุเบกษา  ตั้งโรงกษาปณ์ ฯลฯ - พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเสรีภาพในการนับถือศาสนา  เพราะทรงเห็นว่าไม่มีผลต่อกิจการแผ่นดิน
                 - พระองค์ได้ทรงบัญญัติกฎหมายขึ้นเกือบ 500 ฉบับ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เต็มไปด้วยมนุษยธรรม
                - พระองค์ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ ทรงยอมรับวิชาการทางตะวันตกมาใช้ เช่น การถ่ายรูป การก่อสร้าง และงานเครื่องจักร เป็นต้น  ทั้งยังทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านดาราศาสตร์ คือ ทรงคำนวณเวลาเกิดสุริยุปราคาหมดดวงในประเทศไทย  ที่ตำบลหว้ากอ  แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์  ได้ว่าจะเกิดขึ้นวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑  เวลา ๑๐.๓๒ นาฬิกา  เวลาดวงอาทิตย์มืดเต็มดวง  คือ  ๖ นาที ๔๖ วินาที และเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นจริงตามที่ทรงคำนวณไว้ทุกประการ
 
               ในการเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนั้นทำให้พระองค์ประชวรด้วยไข้จับสั่นอย่างแรง และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๑  ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑  สิริพระชนมายุได้ ๖๔ พรรษา  รวมเวลาครองราชย์ได้ ๑๗ ปีเศษ



  


 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
                           พระราชประวัติ
                  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔  และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี  พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖  มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อพระชนมายุ ๑๓ พรรษา ทรงเป็นกรมขุนพินิตประชานาถ เสวยราชย์เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑
                ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ พรรษา  โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค)  เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  จนถึง พ.ศ. ๒๔๑๖ ทรงบรรลุนิติภาวะ  พระชนมพรรษาครบ ๒๐ พรรษา จึงมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ ทรงครองราชสมบัติยาวนานถึง ๔๒ ปี  สวรรคตเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓
 
 พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
 
        เพื่อให้ไทยเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศและรอดพ้นจากภัยจักรวรรดินิยมที่กำลังคุกคามภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ขณะนั้น  รัชกาลที่ 5 ทรงพัฒนาและปรับปรุงประเทศทุกด้าน เช่น 
การปกครอง
                ทรงปฏิรูปการปกครองใหม่ตามอย่างตะวันตก  แยกการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือการปกครองส่วนกลาง  แบ่งเป็นกระทรวงต่างๆ การปกครองส่วนภูมิภาคโดยระบบเทศาภิบาลและการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปสุขาภิบาล กฎหมายและการศาล
                ให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบศาลยุติธรรม  เป็นการแยกอำนาจตุลาการออกจากฝ่ายบริหารเป็นครั้งแรก  ยกเลิกจารีตนครบาล
                ที่ใช้วิธีโหดร้ายทารุณในการไต่สวนคดีความ  ตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น และประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญาอันเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย  การปรับปรุงกฎหมายและการศาลนี้เป็นลู่ทางที่ทำให้ประเทศไทยสามารถแก้ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตได้ในภายหลัง 
สังคมและวัฒนธรรม 
               ทรงยกเลิกระบบทาสและระบบไพร่ ให้ประชาชนมีอิสระในการดำรงชีวิต  ยกเลิกประเพณีที่ล้าสมัย  และรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา 
การเงิน การธนาคารและการคลัง
                ผลจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยรัชกาลที่ ๔  ทำให้เศรษฐกิจการค้าขยายตัว  มีชาวต่างประเทศเข้ามาทำกิจการในประเทศไทยมากขึ้น  รัชกาลที่ ๕  จึงให้ออกใช้ธนบัตรและมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอนเป็นครั้งแรก  ทรงอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ของต่างประเทศเข้ามาตั้งสาขาและสนับสนุนให้คนไทยตั้งธนาคารพาณิชย์ขึ้น  ในด้านการคลัง มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรก  และปรับปรุงระบบจัดเก็บภาษีอากรให้มีประสิทธิภาพขึ้น 
สาธารณูปโภค
                ทรงให้สร้างถนนเพิ่มเติม ขุดคลองใหม่และลอกคลองเดิม  เพื่อใช้ในการคมนาคมและขยายพื้นที่เพาะปลูก  ทรงริเริ่มให้จัดกิจการสาธารณูปโภคหลายอย่างขึ้นเป็นครั้งแรก เช่น รถไฟ  รถราง  โทรเลข  ไปรษณีย์  โทรศัพท์  ไฟฟ้า  ประปา  การ
แพทย์และการสาธารณสุข
                ทรงปรับปรุงกิจการด้านนี้ให้เป็นแบบสมัยใหม่ เช่น ตั้งโรงพยาบาลวังหลัง (ศิริราช)  สภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย)  กรมสุขาภิบาล  โรงเรียนสอนแพทย์  โรงเรียนผดุงครรภ์และพยาบาล  เป็นต้น 
ารศึกษา
                มีการสร้างโรงเรียนหลวง  เพื่อให้การศึกษาแก่ราษฎรและทรงส่งพระราชโอรสและพระบรมวงศานุวงศ์ไปศึกษาต่างประเทศ จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาก็เพื่อฝึกคนให้มีความรู้สำหรับเข้ารับราชการ               
การศาสนา 
               โปรดเกล้าฯ  ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์  จัดตั้งสถานศึกษาสงฆ์ คือ มหามกุฏราชวิทยาลัย  และให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก 
การทหาร
                ทรงปรับปรุงหน่วยทหารและอาวุธยุทธภัณฑ์ให้ทันสมัย  ตั้งกรมยุทธนาธิการซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวงกลาโหม  ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก  โรงเรียนนายเรือ  และตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารขึ้นใช้เป็นครั้งแรก
                ในการปรับปรุงพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ  เนื่องจากในขณะนั้นคนไทยมีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิทยาการสมัยใหม่ยังมีน้อย รัชกาลที่ ๕ จึงต้องทรงจ้างชาวต่างประเทศเข้ามาเป็นที่ปรึกษาและรับราชการเป็นจำนวนมาก ส่งวนใหญ่เป็นชาวตะวันตก เช่น อังกฤษ  อเมริกัน  เยอรมัน  ฝรั่งเศส  เบลเยียม  เดนมาร์ก  ที่เป็นชาวตะวันออกก็มีอยู่บ้าง เช่น ญี่ปุ่น  ลังกา  ปรากฏว่าชาวต่างประเทศที่จ้างมาทำงานได้ผลดีสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก  บางคนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นถึงพระยา เจ้าพระยานอกจากนี้รัชกาลที่ 5  ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ  โดยได้เสด็จประพาสสิงคโปร์ของอังกฤษและเกาะชวาอาณานิคมของฮอลันดา  ต่อมาเสด็จประพาสอินเดียซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ  ทรงนำความเจริญของดินแดนเหล่านี้มาประกอบในการพัฒนาประเทศไทย
                ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ รัชกาลที่ ๑  เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๑  ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ  กว่า ๑๐ ประเทศ  เป็นผลดีต่อฐานะของประเทศไทยในสังคมระหว่างประเทศ  ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๙ ๒ - ๒๔๕๐ ได้เสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งที่ ๒  เพื่อเยี่ยมพระราชโอรสที่ศึกษาอยู่ในประเทศต่างๆ  และรักษาพระองค์ตามที่แพทย์ถวายคำแนะนำ  ในโอกาสเดียวกันทรงได้เจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองกับประเทศต่าง ๆ ด้วย  แม้ว่ารัชกาลที่ ๕  จะทรงพัฒนาประเทศทุก ๆ  ด้าน และพยายามผูกมิตรกับประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ  แต่ประเทศไทยก็ยังไม่อาจรอดพ้นภัยจากลัทธิล่าอาณานิคมโดยสิ้นเชิง  ดังเช่นเกิดพิพาทกับฝรั่งเศสจนถึงขั้นปะทะกันที่ปากน้ำ สมุทรปราการ  ซึ่งเรียกว่าเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖)  เป็นต้น  รัชกาลที่ ๕ ต้องทรงยอมเสียดินแดนบางส่วนให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ  เพื่อรักษาเอกราชและดินแดนส่วนใหญ่ไว้   ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อประชาชนชาวไทยและประเทศไทยอย่างใหญ่หลวง  จึงทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า  พระปิยมหาราช  อันหมายถึงว่า  ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย  และในโอกาสครบรอบ ๑๕๐ พรรษาแห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพ  วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖  องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  หรือยูเนสโก (UNESCO)  ได้ประกาศยกย่องให้พระองค์เป็นบุคคลสำคัญและมีผลงานดีเด่นของโลกทางสาขาการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา การพัฒนาสังคมและสื่อสาร 

 
 
 
สมเด็จเจ้าพระยา
บรมมหาศรีสุริยวงศ์
 
             สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค)  เป็นบุตรชายคนใหญ่ของสมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ (ดิศ)  กับท่านผู้หญิงจันทร์  เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๓๕๑  ในวัยเด็กได้รับการศึกษาจากวัด  เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นในสมัยรัชกาลที่ ๒ บิดาซึ่งขณะนั้นเป็นพระยาพระคลัง  นำไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก และทำงานด้านพระคลังและกรมท่าอยู่กับบิดา  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓  รับราชการมีความชอบมาก  ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์มาตามลำดับ  จนเป็นหมื่นไวยวรนาถ  ใน พ.ศ. ๒๓๘๔  และเป็นพระยาศรีสุริยวงศ์ในตอนปลายรัชกาล  ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๔  ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  ว่าที่สมุหกลาโหมเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้ฝักใฝ่สนใจศึกษาศิลปวิทยาของตะวันตก จึงจัดเป็นพวกหัวใหม่คนหนึ่งของสมัยนั้น  ท่านกับบิดาของท่านได้คอยช่วยเหลือสนับสนุนพวกมิชชันนารีที่เข้ามาสมัยรัชกาลที่ ๓  เพื่อให้เผยแพร่วิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ออกไป  เมื่อเซอร์จอห์นเบาว์ริง  เข้ามาทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ทรงเป็น ๑ ใน ๕ ที่รัชกาลที่ ๔ ทรงแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาข้อสัญญากับเซอร์จอห์น เบาว์ริง  ทำการทำสนธิสัญญาสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี  และต่อมาท่านได้เป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการทำสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันกับนานาประเทศในตอนปลายรัชกาลที่ ๔  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งเป็นวังหน้าหรือพระมหาอุปราชสวรรคต รัชกาลที่ ๔ ไม่ได้ทรงตั้งผู้หนึ่งผู้ใดขึ้นแทน ครั้นเมื่อรัชกาลที่ ๔ สวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๑๑  ที่ประชุมเสนาบดีและพระบรมวงศานุวงศ์จึงได้อัญเชิญเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และเชิญเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน  โดยมีมติเป็นเอกฉันท์  นอกจากนี้ยังเชิญกรมหมื่นบวรวิชัยชาญ  พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวงสถานมงคล แม้จะมีผู้คัดค้านว่าการตั้งผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล  ควรให้เป็นพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  แต่เสียงส่วนใหญ่ก็เห็นว่าควงจะตั้งไปเลย  ทั้งนี้อาจเพราะเกรงใจ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  ซึ่งสนับสนุนกรมหมื่นบวรวิชัยชาญนับเป็นครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ที่พระมหากษัตริย์ขึ้นเสวยราชย์  ขณะพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ พรรษา  และมีผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจแทน  จึงมีผู้หวั่นเกรงว่าอาจมีการชิงราชสมบัติดังเช่นที่พระยากลาโหมกระทำในสมัยอยุธยา  แต่เหตุการณ์เช่นนั้นก็มิได้เกิดขึ้น  เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์  ได้บริหารราชการมาด้วยความเรียบร้อย  พร้อมกันนั้นก็ได้จัดให้รัชกาลที่ ๕  ทรงได้รับการฝึกหัดการเป็นพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณี  และให้ทรงเรียนรู้ศิลปวิทยาการสมัยใหม่ควบคู่ไปด้วย  นอกจากนั้นยังจัดให้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวาใน พ.ศ. ๒๔๓๑  อินเดียและพม่าใน พ.ศ. ๒๔๑๕  เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครอง ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเจริญของประเทศที่อยู่ในความปกครองของตะวันตก  ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงนำแบบอย่างที่เหมาะสมมาปรับปรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้าในเวลาต่อมาเมื่อรัชกาลที่ ๕  ทรงบรรลุนิติภาวะใน พ.ศ. ๒๔๑๖  ได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ ๒  ซึ่งแสดงว่าจะทรงว่าราชการบ้านเมืองเอง  ในพระราชพิธีครั้งนี้โปรดเกล้าฯ  ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
                แม้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชกาลแผ่นดินแล้ว  แต่ก็คงทำหน้าที่ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินต่อมา  จนถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. ๒๔๒๕  รวมอายุได้ ๗๔  ปี
 
 
 

 
 
 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
 กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
 
         สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  เป็นพระโอรสในรัชกาลที่ ๔  กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม  มีพระนามเดิมว่า  พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร  ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕  ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในพระบรมหมาราชวัง  ในสมัยรัชกาลที่ ๕  ได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ  แล้วเลื่อนเป็นกรมหลวง  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖  ได้เลื่อนขึ้นเป็นกรมพระยา  และเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๗  ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ   สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาบ้านเมือง โดยเฉพาะการปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ ๕  ทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วนความวิริยะอุตสาหะ  มีความรอบรู้  มีความซื่อสัตย์  และจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์   
 
ผลงานสำคัญมี 3 ด้าน    
 
การศึกษา
 
                ใน พ.ศ. ๒๔๒๓  ทรงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก จึงเกี่ยวข้องกับการศึกษามาตั้งแต่นั้น  เนื่องจากมีการตั้งโรงเรียนทหารมหาดเล็กขึ้นในกรมทหารมหาดเล็ก ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนพลเรือน  จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๓  ทรงเป็นอธิบดีกรมศึกษาธิการและกำกับกรมธรรมการ  จึงปรับปรุงงานด้านการศึกษาให้ทันสมัย เช่น กำหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ คือ ฝึกคนเพื่อเข้ารับราชการ กำหนดหลักสูตร เวลาเรียนให้เป็นแบบสากล  ทรงนิพนธ์แบบเรียนเร็วขึ้นใช้เพื่อสอนให้อ่านได้ภายใน ๓ เดือน  มีการตรวจคัดเลือกหนังสือเรียน  กำหนดแนวปฏิบัติราชการในกรมธรรมการ  และริเริ่มขยายการศึกษาออกไปสู่ราษฎรสามัญชน  เป็นต้น  
 
การปกครอง
 
                ทรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรกเป็นเวลานานถึง ๒๓ ปี ติดต่อกันตั้งแต่  พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๕๘  ทรงมีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานระบบการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในแนวใหม่  โดยยกเลิกการปกครองที่เรียกว่า  ระบบกินเมือง   ซึ่งให้อำนาจเจ้าเมืองมาก มาเป็นการรวมเมืองใกล้เคียงกันตั้งเป็นมณฑล  และส่งข้าหลวงเทศาภิบาลไปปกครองและจ่ายเงินเดือนให้พอเลี้ยงชีพ  ระบบนี้เป็นระบบการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง  นอกจากนี้มีการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นในกระทรวงมหาดไทย  เพื่อทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขราษฎร  เช่น  กรมตำรวจ  กรมป่าไม้  กรมพยาบาล  เป็นต้น  ตลอดเวลาที่ทรงดูแลงานมหาดไทย ทรงให้ความสำคัญแก่การตรวจราชการเป็นอย่างมาก เพราะ ต้องการเห็นสภาพเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ดูการทำงานของข้าราชการ และเป็นขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการหัวเมืองด้วย  
 
งานพระนิพนธ์
 
                ทรงนิพนธ์งานด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรมไว้เป็นจำนวนมาก  ทรงใช้วิธีสมัยใหม่ในการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์และโบราณคดี  จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย    สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘  ในสมัยรัชกาลที่ ๖  เนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพ แต่ต่อมาเสด็จกลับเข้ารับราชการอีกครั้ง    ในตำแหน่งเสนาบดีมุรธาธร   และเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๗  ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี งานสำคัญอื่นๆ ที่ทรงวางรากฐานไว้  ได้แก่  หอสมุดสำหรับพระนคร  และงานด้านพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖  ทรงเป็นต้นราชสกุล ดิศกุล  ใน พ.ศ. ๒๕๐๕  ยูเนสโกประกาศยกย่องพระองค์ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติจากสถาบันแห่งนี้ 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
 
รมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ  
 
 
           สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าวัญอุไทยวงศ์  ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๑  เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และเจ้าจอมมารดาเปี่ยม
              เมื่อมีพระชันษา ๑๗ ปี  ทรงเข้ารับราชการทำหน้าที่ตรวจบัญชีคลังร่วมกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศร์วรฤทธิ์  ในสมัยนั้นการเก็บภาษีอากรของแผ่นดินยังไม่เป็นระเบียบ ผลประโยชน์ของแผ่นดินรั่วไหลมาก  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินด้วยการตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์  อันเป็นต้นกำเนิดของกระทรวงการคลังขึ้น  มีการตั้งสำนักงานออดิต ออฟฟิศ  แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์เป็นหัวหน้าพนักงาน  ซึ่งทรงปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี  ทรงพระปรีชารอบรู้ทั้งภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  และวิชาเลข  ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  จึงโปรดเกล้าฯ  ให้ไปรับราชการช่วยเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร  บุนนาค)  ราชเลขฝ่ายต่างประเทศ  หลังจากนั้นทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชเลขาธิการ  และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  สถาปนาให้ทรงกรม  เป็นกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ 
 เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๒๔  กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ  ทรงริเริ่มให้มีการตั้งทูตไทยประจำราชสำนักต่างประเทศ เพื่อความสะดวกในการเจรจากับกงสุลต่างประเทศ  และทรงดำริที่จะทำสัญญากับอังกฤษจัดตั้งศาลต่างประเทศขึ้นที่เชียงใหม่ อันเป็นการ
เริ่มนำคนในบังคับต่างประเทศมาไว้ในอำนาจศาลไทย
 
ใน พ.ศ. ๒๔๒๔  ตำแหน่งเสนาบดีกรมท่าว่างลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการเป็นเสนาบดีกรม  ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  เลื่อนเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมชั้นผู้ใหญ่เป็นกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ  ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ  ทรงพยายามที่จะหาทางรักษาไมตรีระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ  ให้ดำเนินไปด้วยดี  กรณีวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒  มีการปะทะกันระหว่างเรือของฝรั่งเศสกับไทย  พระองค์ทรงช่วยผ่อนคลายสถานการณ์อันตึงเครียดถึงแม้ว่าจะต้องสูญเสียดินแดนไปบ้าง แต่ก็ยังคงรักษาเอกราชของไทยไว้ได้ นสมัยรัชกาลที่ ๖ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีสืบมา และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอิสริยยศเป็นกรมพระเทวะวงศ์วโรปการ
                เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙  ทรงเป็นมหาอำมาตย์ยศเทียบเท่ากับจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๖  พระชันษา ๖๕ ปี  ทรงเป็นต้นราชสกุล  เทวกุล
 
 
 

 
 
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
 
จ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
 
  
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์   เป็นเจ้าฟ้าผู้ทรงพระปรีชาสามารถในวิชาการหลายแขนง ทรงเป็นปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ดนตรี และงานช่าง  พระองค์มีพระนามเดิมว่า  พระองค์เจ้าจิตรเจริญ  เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับหม่อมเจ้าหญิงพรรณราย  ประสูติที่ตำหนักในพระบรมมหาราชวัง  เมื่อวันที่  ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๐๖  ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนคะเด็ตทหาร  จากนั้นผนวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร  หลังจากนั้นทรงศึกษาวิชาการต่าง ๆ  และราชประเพณี
 
พระองค์เจ้าจิตรเจริญทรงผนวชเป็นพระภิกษุใน พ.ศ. ๒๔๒๗  ครั้นลาผนวชแล้ว  ทรงรัชราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงมีพระสติปัญญารอบรู้  เป็นที่วางพระราชหฤทัยจนได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศเป็น  พระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ทรงรับราชการในตำแหน่งสำคัญ  อยู่หลายหน่วยงานเพื่อวางรากฐานในการบริหารราชการให้มั่นคง ทั้งกระทรวงโยธาธิการ  กระทรวงพระคลัง  และกระทรวงวัง
 
               ใน พ.ศ. 2452  ทรงกราบบังคมลาออกจากราชการ เนื่องจากประชวร    ด้วยโรคพระหทัยโต  ทรงปลูกตำหนักอยู่ที่คลองเตย และเรียกตำหนักนี้ว่า  บ้านปลายเนิน  ครั้นเมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศเป็น  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์  และโปรดเกล้าฯ  ให้ทรงกลับเข้ารับราชการอีกครั้งหนึ่ง  จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  จึงทรงพ้นจากตำแหน่ง
                ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้เลื่อนกรมขึ้นเป็น  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์   ในบั้นปลายพระชนม์ทรงประทับที่บ้านปลายเนินจนสิ้นพระชนม์ลงเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๐  พระชันษา ๘๓ ปี  ทรงเป็นต้นราชสกุล  จิตรพงศ์ 
                สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศนุวัดติวงศ์  ทรงมีพระปรีชาสามารถในงานช่างหลายแขนง ได้ทรงงานออกแบบไว้เป็นจำนวนมาก  ทั้งงานภาพเขียนในวรรณคดี  ภาพประดับผนัง  พระราชลัญจกรและตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ  ตาลปัตร  ตลอดจนสถาปัตยกรรม  ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลาย เช่น พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม  พระอุโบสถวัดราชาธิวาส  พระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ ฯลฯ  ด้วยพระปรีชาสามารถทางด้านงานช่างนี้เอง  ทำให้ทรงได้รับพระสมัญญานามว่า  นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม 
 
                 นอกจากนี้ยังทรงพระปรีชาสามารทางด้านดนตรี  ทรงพระนิพนธ์เพลงเขมรไทรโยค เพลงตับนิทราชาคริต เพลงตับจูล่ง ฯลฯ  ส่วนด้านวรรณกรรมทรงมีลายพระหัตถ์โต้ตอบกับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นเอกสารที่มีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและอักษรศาสตร์ ที่รู้จักกันทั่วไปในนาม  สาส์นสมเด็จ ความที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ทรงพระปรีชาสามารถในวิชาการหลายแขนงจึงมิได้เป็นบุคคลสำคัญของชาติไทยเท่านั้น  หากแต่ทรงเป็นบุคคลที่ชาวโลกพึงรู้จัก โดยใน พ.ศ. ๒๕๐๖  อันเป็นวาระครบรอบร้อยปีแห่งวันประสูติ ยูเนสโกได้ประกาศให้พระองค์เป็นบุคคลสำคัญของโลกพระองค์หนึ่ง
 
ขรัวอินโข่ง  
 
ขรัวอินโข่ง  เป็นชื่อเรียกพระอาจารย์อิน  ซึ่งเป็นจิตรกรในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขรัวอินโข่งเป็นชาวบางจาน จังหวัดเพชรบุรี  บวชอยู่จนตลอดชีวิตที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ)  กรุงเทพฯ  การที่ท่านบวชมานานจึงเรียกว่า ขรัว ส่วนคำว่า โข่ง นั้นเกิดจากท่านบวชเป็นเณรอยู่นานจนใคร ๆ  พากันเรียกว่า  อินโข่ง  ซึ่งคำว่า โข่ง หรือโค่ง หมายถึง ใหญ่หรือโตเกินวัยนั่นเอง
           ขรัวอินโข่ง  เป็นช่างเขียนไทยคนแรกที่มีความรู้ในการเขียนภาพทั้งแบบไทยที่นิยมเขียนกันมาแต่โบราณ และทั้งแบบตะวันตกด้วย นับเป็นจิตรกรคนแรกของไทยที่มีพัฒนาการเขียนรูปจิตรกรรมฝาผนังโดยการนำทฤษฎีการเขียนภาพแบบสามมิติแบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ในงานจิตรกรรมของไทยในยุคนั้น ภาพต่าง ๆ  ที่ขรัวอินโข่งเขียนจึงมีแสง  เงา  มีความลึกและเหมือนจริง          
ผลงานของขรัวอินโข่งเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาก เคยโปรดเกล้าฯ  ให้เขียนรูป
ต่างๆ  ตามแนวตะวันตกไว้ที่พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นภาพเขียนแรก ๆ  ของขรัวอินโข่ง  นอกจากนั้นมีภาพเหมือนพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่หอพระราชกรมานุสรณ์
 
          ภาพของขรัวอินโข่งเท่าที่มีปรากฏหลักฐานและมีการกล่าวอ้างถึง อาทิ ภาพเขียนชาดก เรื่องพระยาช้างเผือก  ที่ผนังพระอุโบสถ  และภาพสุภาษิตที่บานแผละ  หน้าต่างพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ภาพพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ในหอพระราชพงศานุสรณ์ในพระบรมมหาราชวัง ภาพปริศนาธรรมที่ผนังพระอุโบสถวัดบรมนิวาส  ภาพพระบรมรูปรัชกาลที่ ๔ ฯลฯ     
 
 
  
การเขียนภาพแบบตะวันตก
 
ที่ใช้แสงและเงาสร้างเป็นภาพ 3 มิติ
 
          ภาพเขียนจากฝีมือขรัวอินโข่งเหล่านี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว    โดดเด่น  แปลกตา  ใช้สีเข้มและสีอ่อน  แตกต่างจากงานจิตรกรรมที่เคยเขียนกันมาในยุคนั้น  ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ของงานจิตรกรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เรียกกันว่า  จิตรกรรมสกุลช่างขรัวอินโข่ง  ที่เป็นต้นกำเนิดของงานจิตรกรรมไทยในยุคต่อ ๆ  มา      
 
 
    
พระประดิษฐ์ไพเราะ  
(มี  ดุริยางกูร)  
 
              พระประดิษฐ์ไพเราะ  เป็นครูดนตรีไทยคนสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์  สันนิษฐานว่าเกิดตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๑  คนทั่วไปมักเรียกท่านว่า  ครูมีแขก  สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ทรงสืบประวัติไว้ว่า  ครูปี่พาทย์ชื่อครูมีแขกนั้น  คือเป็นเชื้อแขก  ชื่อมี  ครูมีแขกเป็นผู้เชี่ยวชาญคนตรีไทยเกือบทุกประเภท  ทั้งยังแต่งเพลงด้วย เพลงที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ทยอยนอก ทยอยใน 3 ชั้น
           ในสมัยรัชกาลที่ 4  เจ้านายหลายพระองค์รวบรวมคนหัดปี่พาทย์ขึ้นเล่นประชันวงกัน  ครูมี ได้เป็นครูปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระประดิษฐ์ไพเราะ  ตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็ก
           ได้ว่ากรมปี่พาทย์ฝ่ายพระบรมมหาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เป็นครูมโหรีของกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร  นอกจากมีความสามารถในการเป่าปี่แล้ว  ครูมีแขกยังชำนาญในการสีซอสามสาย  โดยได้แต่งเพลงเดี่ยวเชิดนอกทางซอสามสายไว้ด้วย
          ครูมีแขกถึงแก่กรรมในสมัยรัชกาลที่ ๕  ประมาณระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๗ ๒๔๒๑   ทิ้งไว้เพียงชื่อเสียง คุณงามความดี และคุณูปการอันมากล้นสำหรับวงดนตรีไทย
 
 
 

ดร.แดน บีช แบรดเลย์
(Dr.Dan Beach Bradley)   
 
ดร.แดน บีช แบรดเลย์  ชาวไทยเรียกกันว่า  หมอบรัดเลย์  หรือ  ปลัดเล  เป็นชาวนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา  เกิดเมื่อ  พ.ศ. ๒๓๔๕  หมดบรัดเลย์เดินทางเข้ามายังสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๘   โดยพักอาศัยอยู่กับมิชชันนารี ชื่อ จอห์นสัน ที่วัดเกาะ  เมื่อเข้ามาอยู่เมืองไทย  ในตอนแรกหมอบรัดเลย์เปิดโอสถศาลาขึ้นที่ข้างใต้วัดเกาะ  รับรักษาโรคให้แก่ชาวบ้านแถวนั้น  พร้อมทั้งสอนศาสนาคริสต์ให้แก่ชาวจีนที่อยู่ในเมืองไทย  ส่วนซาราห์ ภรรยาของหมอเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ
 
ต่อมาหมอบรัดเลย์ย้ายไปอยู่แถวโบสถ์วัดซางตาครูส  ขยายกิจการจากรับรักษาโรคเป็นโรงพิมพ์  โดยรับพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับศาสนาคริสต์แจก  และพิมพ์ประกาศของทางราชการ  เรื่องห้ามนำฝิ่นเข้ามาในประเทศสยาม  เป็นฉบับแรก  จำนวน ๙,๐๐๐ แผ่น   เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๘๒  อีกด้วย   กิจการโรงพิมพ์นี้นับเป็นประโยชน์สำหรับคนไทยมาก  เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญซึ่งคนรุ่นหลังได้ศึกษาส่วนหนึ่งก็มาจากโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์  นอกจากนี้ท่านได้ออกหนังสือพิมพ์รายปีฉบับหนึ่ง ชื่อว่า  บางกอกคาเลนเดอร์ (Bangkok Calender)  ต่อมาได้ออกหนังสือพิมพ์รายปักษ์อีกฉบับหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ ชื่อว่า  บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder)  นอกจากหนังสือพิมพ์แล้วยังได้พิมพ์หนังสือเล่มจำหน่ายอีกด้วย เช่น ไคเภ็ก  ไซ่ฮั่น  สามก๊ก  เลียดก๊ก  ห้องสิน ฯลฯ  หนังสือของหมอบรัดเลย์นั้น  เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ขุนนางและราชสำนัก  โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ที่ลงบทความแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง
 
นอกจากงานด้านโรงพิมพ์ที่หมอบรัดเลย์เข้ามาบุกเบิกและพัฒนาให้วงการสิ่งพิมพ์ไทยแล้ว งานด้านการแพทย์และด้านสาธารณสุขที่ท่านทำไว้ก็มิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน  หมอบรัดเลย์นับว่าเป็นหมอฝรั่งคนแรกที่ได้นำเอาหลักวิชาแพทย์สมัยใหม่เข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทย  มีการผ่าตัดและช่วยรักษาโรคต่างๆ  โดยใช้ยาแผนใหม่  ซึ่งช่วยให้คนไข้หายป่วยอย่างรวดเร็ว  ที่สำคัญที่สุด คือ การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ
 
              ด้วยคุณงามความดีที่หมอบรัดเลย์มีต่อแผ่นดินไทย  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พวกมิชชันนารีและหมอบรัดเลย์เช่าที่หลังป้อมวิไชยประสิทธิ์อยู่จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าจนกระทั่งหมอบรัดเลย์ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖  รวมอายุได้ ๗๑ ปี 
 
 
 
 
 
               พระกัลยาณไมตรี                                                
                                          (ดร.ฟรานซิส บี แซร์)   
                                    (Dr. Francis Bowes Sayre)
                                             
   ประวัติและผลงานที่สำคัญ
              พระยากัลยาณไมตรี  เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘   ที่มลรัฐเพนซิลวาเนีย  สหรัฐอเมริกา  สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  และได้เป็นศาสตราจารย์วิชากฎหมายของมหาวิทยาลัยแห่งนี้  ก่อนที่จะเข้ามารับราชการในประเทศไทยในตำแหน่งที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๘

 
                     ดร.แซร์  มีบทบาทสำคัญในการปลดเปลื้องข้องผูกพันตามสนธิสัญญาเบาว์ริงที่ไทยทำไว้กับประเทศอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ ๔  และสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันที่ไทยทำไว้กับประเทศอื่น ๆ  ซึ่งฝ่ายไทยเสียเปรียบมากในเรื่องที่คนในบังคับต่างชาติไม่ต้องขึ้นศาลไทย  และไทยจะเก็บภาษีจากต่างประเทศเกินร้อยละ ๓ ไม่ได้  ประเทศไทยพยายามหาทางแก้ไขสนธิสัญญาเสียเปรียบนี้มาโดยตลอด  ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๖  ปรากฏว่ามีเพียง ๒ ประเทศที่ยอมแก้ไขให้โดยยังมีข้อแม้บางประการ  ได้แก่  สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ยอมแก้ไขใน พ.ศ. ๒๔๓๖  และญี่ปุ่นยอมแก้ไขใน พ.ศ. ๒๔๖๖
 
                 เมื่อ ดร.แซร์  เข้ามาประเทศไทยแล้ว  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญากับประเทศในยุโรป  ดร.แซร์  เริ่มออกเดินทางไปปฏิบัติงานใน พ.ศ. ๒๔๖๗  การเจรจาเป็นไปอย่างยากลำบาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจรจากับอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งต่างก็พยายามรักษาผลประโยชน์ของตนเต็มที่  แต่เนื่องจาก ดร.แซร์  เป็นผู้มีวิริยอุตสาหะ  มีความสามารถทางการทูต  และมีความตั้งใจดีต่อประเทศไทย  ประกอบกับสถานภาพส่วนตัวของ ดร.แซร์  ที่เป็นบุตรเขยของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา  จึงทำให้การเจรจาประสพความสำเร็จ  ประเทศในยุโรปที่ทำสนธิสัญญากับไทย ได้แก่  ประเทศอังกฤษ  ฝรั่งเศส  เนเธอร์แลนด์ สเปน โปรตุเกส เดนมาร์ก สวีเดน อิตาลี และเบลเยี่ยม  ยินยอมแก้สนธิสัญญาให้เป็นแบบเดียวกับที่สหรัฐอเมริกายอมแก้ให้
 
               ดร.แซร์  ถวายบังคมลาออกจากหน้าที่กลับไปสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ. ๒๔๘๖  แต่ก็ยังยินดีที่จะช่วยเหลือประเทศไทย ดังเช่นใน พ.ศ. ๒๔๖๙  หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน  ดร.แซร์ได้ถวายคำแนะนำเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมือง และแนวทางแก้ปัญหาต่าง ๆ  ตามที่ทรงถามไป  และยังได้ร่างรัฐธรรมนูญถวายให้ทรงพิจารณาด้วย
 
              ากคุณงามความดีที่ ดร.แซร์  มีต่อประเทศไทย  จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ และต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๑  รัฐบาลไทยได้ตั้งชื่อถนนข้างกระทรวงต่างประเทศ (วังสราญรมย์)  ว่าถนนกัลยาณไมตรีพระยากัลยาณไมตรีถึงแก่อนิจกรรมที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕  อายุได้ ๘๗  ปี


สมัยธนบุรี

 
 
 
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  
 
พระราชประวัติ

 
พระราชกรณียกิจที่สำคัญที่สุด
        การรวบรวมบรรดาหัวเมืองต่างๆ เข้าอยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน เนื่องจากมีคนพยายามตั้งตัวขึ้นเป็นผู้นำในท้องถิ่นต่างๆ มากมาย  เช่น  ชุมนุมเจ้าเมืองพิษณุโลก ชุมนุมเจ้าเมืองพิมาย ชุมนุมเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น    ตลอดรัชกาล มีศึกสงครามเกิดขึ้นมากมาย ได้แก่ ศึกพม่าที่บางกุ้ง ศึกเมืองเขมร ศึกเมืองเชียงใหม่ ศึกเมืองพิชัย ศึกบางแก้ว ศึกอะแซหวุ่นกี้ ศึกจำปาศักดิ์ ศึกวียงจันทน์   ซึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรีได้รับชัยชนะในการศึกมาโดยตลอดในสมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย  จากหลักฐานต่างๆ มีระบุไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีสติฟั่นเฟือน  ไม่อยู่ในทศพิธราชธรรม  กระทำการข่มเหงประชาราษฎร์ให้ได้รับความเดือดร้อน  เป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายในกรุงธนบุรี  พระยาสรรค์กับพวกควบคุมสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไว้  ต่อมาสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)  ได้ยกทัพกลับจากการปราบจลาจลที่เขมร  และปรึกษากับเหล่าขุนนางกรณีสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  โดยเห็นว่าควรนำไปประหารชีวิต สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  สวรรคตเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕

สมัยสุโขทัย
 
 
 
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช 
พระราชประวัติ 
 




พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  เป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (บางกลางหาว)   กับนางเสือง มีพระนามเดิมว่า  พระราม  เมื่อพระชนมายุ 19 พรรษา ได้ตามเสด็จพระบิดาไปในการสงครามระหว่างสุโขทัย กับเมืองฉอด ทรงช่วยพระบิดาทำยุทธหัตถีชนะขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด พระบิดาจึงเฉลิมพระนามให้เป็น  พระรามคำแหง "
ในช่วงรัชสมัยพ่อขุนบางเมือง ซึ่งเป็นพระเชษฐา พระรามคำแหงทรงเป็นกำลังสำคัญในการรบปราบปรามเมืองชายแดนหลายแห่ง พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ครองราชย์ พ.ศ. ๑๘๒๒
 
                                        พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
 
-  ทรงขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวางกว่ารัชสมัยใดๆ
-  ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยใน พ.ศ. ๑๘๒๖
-  ทรงส่งเสริมการค้า ทั้งการค้าภายในและการค้าภายนอก เช่น  ให้งดเว้นการเก็บจกอบหรือภาษีผ่านด่าน
-  ทรงบำรุงศาสนา เช่น ให้นิมนต์พระสงฆ์นิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราชมาเป็นพระสังฆราช
และริเริ่มการนิมนต์พระสงฆ์มาแสดงธรรมในวันพระ
-  ทรงดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด เช่น ให้ผู้เดือดร้อนมาสั่นกระดิ่ง ถวายฎีกาได้ ให้ทายาทมีสิทธิได้รับมรดก  
จากพ่อแม่ที่เสียชีวิตไป เป็นต้น
-  ทรงสร้างความสัมพันธ์อันดีกับรัฐใกล้เคียง ได้แก่ ทรงเป็นพระสหายกับพญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนา
พญางำเมือง แห่งแคว้นพะเยา ทรงมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับพระเจ้าฟ้ารั่ว แห่งอาณาจักรมอญและทรงเป็นรัฐบรรณาการกับจีน             
 
 
 
พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) 
 
พระราชประวัติ 
 
              พญาลิไท หรือ พระยาลิไท หรือ พระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรม-ราชาธิราช หรือพระมหาธรรมราชา ๑  ทรงเป็นพระราชโอรสของพระยาเลอไทและพระราชนัดดา(หลานปู่) ของพ่อขุนรามคำแหง  ครองราชย์  พ.ศ. ๑๘๙๐ แต่ไม่ทราบปีสิ้นสุดรัชสมัยที่แน่นอน สันนิษฐานว่าอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๑๑ - ๑๙๖๖  พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงเป็นแบบฉบับของกษัตริย์ในคติธรรมราชา ทรงปกครองบ้านเมืองและอาณาประชาราษฎร์ด้วยทศพิธราชธรรม ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองจนสุโขทัยกลายเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติพระองค์ชักนำชนทั้งหลายให้พ้นทุกข์  หลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงว่าพระองค์มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎกเป็นอย่างดี  ได้แก่  วรรณกรรมเรื่อง  ไตรภูมิพระร่วง  วรรณคดีชิ้นแรกของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๘๘ ที่ทรงนิพนธ์ขึ้นตั้งแต่ก่อนเสวยราชย์หลังจากทรงเป็นรัชทายาทครองเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ ๘ ปี จึงเสด็จมาครองสุโขทัยเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๐ โดยต้องใช้กำลังทหารเข้ามายึดอำนาจเพราะที่สุโขทัยหลังสิ้นรัชกาลพ่อขุนงัวนำถมแล้วเกิดการกบฏการสืบราชบัลลังก์ ไม่เป็นไปตามครรลองครองธรรม 
 
    พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
 
   - การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ   เพราะสุโขทัยหลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว     บ้านเมืองแตกแยกแคว้นหลายแคว้นในราชอาณาจักรแยกตัวออกห่างไป ไม่อยู่ในบังคับบัญชาสุโขทัยต่อไป                     
    - พญาลิไททรงคิดจะรวบรวมสุโขทัยให้กลับคืนดังเดิม แต่ก็ทรงทำไม่สำเร็จ นโยบายการปกครองที่ใช้ศาสนาเป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักในรัชสมัยนี้                      
    - ทรงสร้างเจดีย์ที่นครชุม (เมืองกำแพงเพชร) สร้างพระพุทธชินราชที่พิษณุโลก
    - ทรงออกผนวช เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๕ การที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น   ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์ กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัยจึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่างๆ เช่น อโยธยา หลวงพระบาง เมืองน่าน พระเจ้ากือนา แห่งล้านนาไทย  ได้นิมนต์พระสมณะเถระไปจากสุโขทัย เพื่อเผยแพร่ธรรมในเมืองเชียงใหม่   พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพญาลิไท       มีมเหสีชื่อพระนางศรีธรรม ทรงมีโอรสสืบพระราชบัลลังก์ต่อมา  คือ  พระมหาธรรมราชาที่สอง           ปีสวรรคตของกษัตริย์  พระองค์นี้ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่คงอยู่ในระยะเวลาระหว่างปี   พ.ศ. ๑๙๒๑-๑๙๒๗

สมัยอยุธยา
 
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
 
พระราชประวัติ

               สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่ 2 (เจ้าสามพระยา)  กับพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย  พระองค์จึงเป็นเชื้อสายราชวงศ์สุพรรณบุรีและราชวงศ์พระร่วง  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของอยุธยา    
 
 
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ  
 
1. การรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอยุธยา
                      เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นเสวยราชย์ใน พ.ศ. ๑๙๙๑ นั้น ทางสุโขทัยไม่มีพระมหาธรรมราชาปกครองแล้ว คงมีแต่พระยายุทธิษเฐียร  พระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๔   ได้รับแต่งตั้งจากอยุธยาให้ไปปกครองเมืองพิษณุโลก ถึง      พ.ศ. ๑๙๙๔  พระยายุทธิษเฐียรไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา  พระราชมารดาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ปกครองเมืองพิษณุโลกต่อมาจนสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.๒๐๐๖  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เสด็จไปประทับที่พิษณุโลกและถือว่าอาณาจักรสุโขทัยถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยานับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
2. ด้านการปฏิรูปการปกครอง
              สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีพระประสงค์ที่จะดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางหรือราชธานี  จึงลดบทบาทของเจ้านายลงและเพิ่มอำนาจให้ขุนนาง  เพื่อป้องกันการแย่งชิงอำนาจจากเชื้อพระวงศ์ เช่น ลดฐานะเมืองลูกหลวง เมืองหลานหลวงลงเป็นเมืองชั้นจัตวาและส่งขุนนางไปปกครองแทนเจ้านาย มีการแยกฝ่ายทหารและพลเรือนโดยใช้ขุนนางตำแหน่งสมุหพระกลาโหมดูแลกิจการฝ่ายทหาร  สมุหนายกดูแลกิจการฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักร ทรงตรากฎมนเทียรบาลขึ้นเพื่อความมั่งคงของสถาบันกษัตริย์  นอกจากนี้ยังทรงตราพระราชกำหนดศักดินา  ได้แก่  พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง   พ.ศ. ๑๙๙๘  เพื่อประโยชน์ในการลำดับชั้นของบุคคลว่ามีศักดิ์ สิทธิ์ และอำนาจหน้าที่ต่างกันอย่างไร  เป็นการจัดระเบียบการปกครองให้มีแบบแผนรัดกุมกว่าเดิมในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อยุธยาทำสงครามยืดเยื้อกับอาณาจักรล้านนา ซึ่งมีพระเจ้าติโลกราชเป็นกษัตริย์ (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๙๘๔ - ๒๐๓๐)  ทำให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถประทับที่เมืองพิษณุโลกนานถึง ๒๕ ปี  เพื่อดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและเพื่อความสะดวกในการป้องกันการรุกรานของล้านนา  ในระยะนี้จึงถือว่าเมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นราชธานีของอาณาจักรอยุธยา
                สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคตใน พ.ศ. 2031  ทรงอยู่ในราชสมบัติ 40 ปี นับว่านานที่สุดในบรรดากษัตริย์อยุธยาทุกพระองค์
 
 

พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๓๔  ถึง พ.ศ. ๒๐๗๒  
 
 
 
 

 

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
 
 
 
พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
 

                     
                             สมเด็จพระนเรศวรมหาราช   เป็นโอรสของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในราชวงศ์สุโขทัยกับพระวิสุทธิกษัตริย์  พระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ  ประสูติเมื่อ  พ.ศ. ๒๐๙๘  ที่เมืองพิษณุโลกเมื่อพระชนมายุได้  ๙  พรรษา ทรงถูกส่งไปเป็นตัวประกันที่กรุงหงสาวดี  เพราะพม่ายึดเมืองพิษณุโลกได้  ทรงได้รับการเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรมเป็นเวลา  ๗ ปี  จน พ.ศ. ๒๑๑๒  กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า พระมหาธรรมราชาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองขึ้นของกรุงหงสาวดี  และอนุญาตให้พระนเรศวรกลับกรุงศรีอยุธยา  และได้รับการสถาปนาให้เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลกและมีตำแหน่งอุปราช  ระหว่างนั้นทรงทำสงครามกับเขมรและพม่า   เพื่อป้องกันอยุธยา พระเจ้าหงสาวดีเห็นดังนี้จึงคิดกำจัดพระนเรศวร  แต่พระองค์ทรงทราบจึงทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง รวมเวลาที่กรุงศรีอยุธยาตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าเป็นเวลา  ๑๕  ปี หลังจากประกาศอิสรภาพก็ทรงทำสงครามกับพม่าหลายครั้งและได้กวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองฝ่ายเหนือมาไว้เป็นกำลังได้มาก  ต่อมาในพ.ศ. ๒๑๓๓  สมเด็จพระธรรมราชาสวรรคต  พระนเรศวรจึงเสด็จขึ้นครองราชย์และทรงสถาปนาพระเอกาทศรถพระอนุชาขึ้นเป็นพระมหาอุปราช  พระราชภารกิจของพระองค์  ได้แก่  การทำศึกสงคราม  โดยเฉพาะสงครามครั้งสำคัญ  คือ  สงครามยุทธหัตถี  ที่ทรงรบกับพม่าที่ตำบลหนองสาหร่าย  ซึ่งพระองค์ทรงมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดและถือเป็นพระเกียรติสูงสุด  เป็นวีรกรรมสุดยอดของกษัตริย์  แม้แต่ฝ่ายแพ้ก็ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นนักรบแท้  หลังจากนั้นตลอดระยะเวลา ๑๕๐ ปี  กรุงศรีอยุธยาไม่ถูกรุกรานจากพม่าอีก  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางครอบคลุมทั้งล้านนา ล้านช้าง  ไทใหญ่  และกัมพูชา  รวมถึงพม่า  ครั้งสุดท้าย  คือ  การเดินทัพไปตีเมืองอังวะ  ซึ่งพระองค์ประชวร  และสวรรคตที่เมืองหาง  ใน พ.ศ. ๒๑๔๘  พระชนมายุได้  ๕๐  พรรษา  เสวยราชสมบัติได้  ๑๕  ปี   สมเด็จพระนเรศวรมหาราช   ทรงเป็นวีรกษัตริย์ที่ได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะผู้กอบกู้เอกราชให้แก่กรุงศรีอยุธยา  ประชาชนชาวไทยจึงยกย่องพระองค์ให้เป็น  มหาราช  พระองค์หนึ่ง 
 
 
 

  สมเด็จพระนารายณ์มหาราช 
 
พระราชประวัติ

 
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
 
              - การลดส่วยและงดเก็บภาษีอากรจากราษฎรเป็นเวลา ๓ ปีเศษ
                       - การประกาศใช้กฎหมายพระราชกำหนดและกฎหมายเพิ่มเติมลักษณะรับฟ้อง
                       - การส่งเสริมงานด้านวรรณกรรม  หนังสือที่แต่งในสมัยนี้  เช่น  สมุทรโฆษคำฉันท์  โคลงทศรถสอนพระราม  โคลงพาลี-สอนน้อง  โคลงราชสวัสดิ์  เพลงพยากรณ์กรุงเก่า  เพลงยาวบางบท  รวมถึงวรรณกรรมชิ้นสำคัญ  คือ  โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ นับเป็น  ยุคทองแห่งวรรณกรรม  ของไทยยุคหนึ่ง  
                       - การทำศึกสงครามกับเชียงใหม่และพม่า พ.ศ.๒๒๐๓  และได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ลงมาอยุธยาด้วย 
                       - ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศนั้น  เจริญรุ่งเรืองมาทั้งประเทศตะวันออก เช่น จีน อินเดีย และประเทศตะวันตกที่สำคัญ ได้แก่ โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส  ทั้งด้านการเชื่อมสัมพันธไมตรีและการป้องกันการคุกคามจากชาติต่างๆ เหล่านี้จากพระราชกรณียกิจต่างๆ ดังกล่าว  จึงทรงได้รับการยกย่องว่าทรงเป็น มหาราช พระองค์หนึ่ง อีกทั้งในรัชสมัยของพระองค์ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคสำคัญด้านศิลปวัฒนธรรมยุคหนึ่งด้วย  สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๒๓๑  ที่เมืองลพบุรี ราชธานีแห่งที่สองที่พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น 


                         สมเด็จพระนารายณ์มหาราช  เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  กับพระอัครมเหสี  ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๕  เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงได้รับการศึกษาทั้งด้านวิชาการ การกีฬา การล่าสัตว์  การขี่มา ขี่ช้าง และการแข่งเรือ  พระองค์มีแม่นม ๒  คน คอยดูแลอภิบาล  คือ  เจ้าแม่วัดดุสิตซึ่งเป็นมารดาของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก)  และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ราชทูตผู้มีชื่อเสียง แม่นมอีกคนหนึ่ง เป็นมารดาของพระเพทราชา พ.ศ. 2198    พระเจ้าปราสาททองประชวรหนักจึงทรงมอบราชสมบัติให้เจ้าฟ้าชัย พระโอรสองค์โต ซึ่งประสูติจากพระสนม เจ้าฟ้าชัยครองราชย์ได้ประมาณหนึ่งปี   ก็ถูกปลงพระชนม์โดยพระศรีสุธรรมราชา พระเจ้าอา พระอนุชา จากนั้นพระศรีสุธรรมราชาก็ขึ้นครองราชย์  และแต่งตั้งให้พระนารายณ์เป็นพระมหาอุปราชวังหน้า   หลังจากนั้นประมาณ  ๒  เดือนพระนารายณ์ก็ได้ปลงพระชนม์สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา  เนื่องจากสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาคิดจะเอาเจ้าฟ้าหญิงศรีสุวรรณหรือพระกนิษฐภคินีร่วมพระชนนีของพระนารายณ์มาเป็นพระชายา  หลังจากนั้นพระนารายณ์ก็เสด็จขึ้นครองราชย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๔ ของพระราชวงศ์ปราสาททอง  ใน พ.ศ. ๒๑๙๙  ขณะพระชนมายุได้ ๒๕ พรรษา  ทรงพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ หรือสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ์  แต่คนทั่วไปนิยมเรียก  สมเด็จพระนารายณ์  กรุงศรีอยุธยาในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  มีความเจริญรุ่งเรืองมาก  

 

ใน พ.ศ. ๒๐๕๔ โปรตุเกสได้เข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยา นับเป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ไทยจึงเริ่มเรียนรู้ศิลปวิทยาของชาวตะวันตกโดยเฉพาะด้านการทหาร  ทำให้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  ทรงพระราชนิพนธ์ตำราพิชัย-สงครามของไทยได้เป็นครั้งแรก  นอกจากนี้ทรงให้ทำสารบัญชี  คือ  การตรวจสอบจัดทำบัญชีไพร่พลทั้งราชอาณาจักร นับเป็นการสำรวจสำมะโนครัวครั้งแรก  โดยทรงตั้งกรมสุรัสวดีให้มีหน้าที่สำรวจและคุมบัญชีไพร่พล
 
 

 ทางด้านศาสนา
              สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงสร้างวัดพระศรีสรรเพชญ์ไว้ในเขตพระราชฐานและให้หล่อ  พระศรีสรรเพชญ์  สูง 8 วา  หุ้มทองคำ ไว้ในพระมหาวิหารของวัดด้วย  ในรัชสมัยนี้อยุธยาและล้านนายังเป็นคู่สงครามกันเช่นเดิมเนื่องจากกษัตริย์ล้านนา  คือ  พระเมืองแก้ว  (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๓๘ - ๒๐๖๘)  พยายามขยายอาณาเขตลงมาทางใต้ จนถึง พ.ศ. ๒๐๖๕  มีการตกลงเป็นไมตรีกัน สงครามจึงสิ้นสุดลง