br>

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4-5-6-7


การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 - พ.ศ. 2411)ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีชาวต่างประเทศเข้ามาติดต่อค้าขายกับประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ ได้ส่งเซอร์จอห์น เบาริ่ง เจ้าเมืองฮ่องกง เป็นราชฑูตเชิญพระราชสาส์น เข้ามาขอทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีในปีพ.ศ. 2397 ทั้งนี้โดยมีข้อความของสนธิสัญญาทางด้านภาษีที่สำคัญประการหนึ่งคือ ให้มีการยกเลิกภาษีเบิกร่องหรือภาษีปากเรือที่เก็บตามสัญญา ฉบับปี พ.ศ. 2369 โดยให้เก็บภาษีขาเข้าแทน และให้เก็บในอัตราเพียงร้อยละ 3 ของสินค้าเท่านั้น ผลของสัญญาฉบับนี้ได้ทำให้ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ที่ต้องเลิกเก็บค่าธรรมเนียมสินค้าขาเข้าขาออกอย่างแต่ก่อน ซึ่งในขณะนั้นรัฐบาลไทยจำเป็นต้องยอมทำสนธิสัญญาในลักษณะเดียวกันกับประเทศในแถบยุโรปอีกหลายประเทศ เพราะขณะนั้นประเทศในแถบยุโรปมีแสนยานุภาพด้านกองทัพมาก และได้เข้ามามีอำนาจในเอเซียตะวันออก ดังนั้น เพื่อให้เป็นการคงรักษาเอกราชไว้ รัฐบาลจึงจำต้องทำสนธิสัญญาดังกล่าว รวมทั้งรัฐบาลไทยต้องยอมให้นานาประเทศมีการซื้อขายสินค้ากับราษฎรได้อย่างเสรี ทั้งนี้โดยให้เสียภาษีตามพิกัดอัตราที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญา ทำให้ผลประโยชน์รายได้ภาษีของรัฐบาลตกต่ำลงเป็นอย่างมาก รัฐบาลในขณะนั้นจึงขาดแคลนเงินทุนเพื่อนำมาทำนุบำรุงให้ทันกับความเจริญของบ้านเมือง จึงได้กำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีประเภทใหม่ขึ้นอีก 14 ประเภท รวมทั้งได้นำภาษีเดิมที่เลิกจัดเก็บมาใช้ในการจัดเก็บใหม่ ดังนี้ - กำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีที่ตั้งขึ้นใหม่ มี 14 ประเภท คือ

1. ภาษีฝิ่น

2. ภาษีสุกร

3. ภาษีปลาสด

4. ภาษีปลาทู

5. ภาษีไหม

6. ภาษีขี้ผึ้ง

7. ภาษีผ้า

8. ภาษีหม้อหวด

9. ภาษีถัง

10. ภาษีเตาหล่อ

11. ภาษีมาดเรือโกลน

12. ภาษีแจว พาย โกลน

13. อากรพนัน

14. อากรมหรสพ

-นำภาษีอากรที่ยกเลิกในรัชกาลที่ 3 กลับมาใช้ใหม่ 2 ประเภท คือ

1. อากรค่าน้ำ

2. อากรรักษาเกาะ

เมื่อพิจารณาถึงลักษณะของภาษีที่จัดเก็บใหม่ 14 ประเภทข้างต้นมีข้อสังเกตคือ แต่เดิมภาษีที่จัดเก็บในรัชกาลที่ 3 จำนวน 38 ประเภท จำแนกได้ว่าเป็นการจัดเก็บจากการพนัน และผลผลิตประเภทต่างๆ แต่ใน 14 ประเภทข้างต้น นอกจากมีการจัดเก็บจากผลผลิตต่างๆมากขึ้น เพื่อมุ่งหวังทางด้านรายได้ให้มากขึ้นแล้ว ยังมีการจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น ภาษีฝิ่น ภาษีปลาสด ภาษีปลาทู และอากรมหรสพ รวมถึงการนำภาษีอากรที่ยกเลิกการจัดเก็บไปแล้ว เช่น อากรค่าน้ำ และอากรรักษาเกาะมาใช้ในการจัดเก็บ ทั้งนี้ โดยมีรายละเอียดวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีในแต่ละลักษณะดังนี้


ภาษีฝิ่นจัดเก็บโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการจำกัดและควบคุมการดูดฝิ่นของประชาชน โดยแต่เดิมคนไทยถือว่าฝิ่นเป็นยารักษาโรคชนิดหนึ่ง ต่อมากลายเป็นสิ่งเสพติดที่นิยมทั่วไปในสมัยรัชกาลที่ 1-3 รัฐบาลถือว่า ฝิ่นเป็นสินค้าต้องห้ามโดยทางการได้ออกกฎหมายห้ามซื้อขาย แต่ได้มีการลักลอบซื้อขายสูบฝิ่นกันอย่างมากมาย ในสมัยรัชกาลที่ 4 รัฐบาลจงตั้งให้มีการเก็บภาษีฝิ่น ทั้งนี้ภาษีฝิ่นที่จัดเก็บในครั้งนั้น จัดเก็บในลักษณะภาษีผูกขาดโดยให้ผูกขาดเป็นรายเมืองเหมือนอากรสุรา ต่อมาได้มีการยกเลิกการเสพและค้าฝิ่นโดยเด็ดขาดในปี พ.ศ. 2502

ภาษีปลาทูสด ปลาทูจัดเก็บจากผู้ที่ได้รับประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ โดยเป็นภาษีที่เกิดจากการประมูลของภาคเอกชน และได้รับสิทธิผูกขาดจากรัฐบาล ต่อมาได้มีการยกเลิกในปี พ.ศ. 2470

อากรอาสพ อากรประเภทนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดเก็บรายได้จากผู้จัดมหรสพ ซึ่งมีรายได้ดีมากในสมัยนั้น อากรชนิดนี้เริ่มมีการจัดเก็บมาตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเก็บจากการละเล่นต่างๆ และได้นำมาจัดเก็บใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยอากรมหรสพเป็นอากรผูกขาด นายอากรจะประมูลขอรับผูกขาดจัดแสดงและนำส่งรายได้ให้กับรัฐ

อากรค่าน้ำและอากรรักษาเกาะ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการนำการจัดเก็บอากรค่าน้ำ และอากรรักษาเกาะมาใช้ในการจัดเก็บอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากผลของการยกเลิกการจัดเก็บในสมัยรัชกาลที่ 3 ก่อให้เกิดผลกระทบที่สำคัญ คือ มีประชาชนพากันมาจับปลามากขึ้น ทำให้เป็นการทำลายพันธุ์ปลา และรัฐบาลต้องสูญเสียรายได้อันพึงได้จึงได้มีการนำกลับมาจัดเก็บอีกครั้ง สำหรับรายละเอียดการจัดเก็บอากรทั้ง 2 ประเภท มีดังนี้
-อากรค่าน้ำ เป็นการเรียกเก็บอากรจากการจับปลาในแม่น้ำลำคลอง หนองบึง ทะเล อากรค่าน้ำ มีทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม สำหรับกรณีอากรค่าน้ำเค็ม เป็นอากรผูกขาด รัฐบาลจะออกกฎหมายกำหนดอัตราอากรไว้เป็นมาตรฐานตามชนิดของเครื่องมือที่ทำมาหากิน
-อากรรักษาเกาะ เป็นการเก็บจากผู้หาไข่จาระเม็ด (ไข่ฟองเต่าตนุ) บนเกาะในฝั่งทะเลตะวันออก โดยอากรชนิดนี้เป็นอากรผูกขาด ผู้ใดสามารถให้เงินประมูลสูงสุดแก่รัฐ ก็จะได้รับเป็นนายอากรดูแลผลประโยชน์ของเกาะที่รับผูกขาด การจัดเก็บอากรชนิดนี้มีผลต่อทรัพยากรธรรมชาติ ผลจากการยกเลิกในรัชกาลที่ 3 ทำให้เต่าตนุแถบชายฝั่งทะเลถูกจับไปมากจนเกือบสูญพันธุ์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงได้นำกลับมาจัดเก็บใหม่ อย่างไรก็ดี ในแง่ของการบริหารการจัดเก็บ ในขณะนั้นมีการจัดเก็บที่ค่อนข้างกระจัดกระจาย มิได้อยู่ในหน้าที่การจัดเก็บของหน่วยงานที่มีการจัดเก็บภาษีอากรโดยตรง เช่น กรมพระคลังมหาสมบัติ จัดเก็บภาษีน้ำมันมะพร้าว ภาษีเสา อากรบ่อนเบี้ย อากรสวนนอกและอากรสวนใน ฯลฯ กรมพระกลาโหม จัดเก็บอากรสุรากรุงเทพฯ ภาษีเหล็กหล่อ อากรรังนก ฯลฯ กรมมหาดไทย จัดเก็บภาษีเรือโรงร้าน ภาษีละคร ภาษีไม้ไผ่ ฯลฯ กรมท่ากลาง จัดเก็บอากรสมพัดสร พริกไทย อากรรักษาเกาะ ภาษีเบ็ดเตล็ด ฯลฯ กรมท่าซ้ายจัดเก็บภาษีเกลือ กรมนาจัดเก็บอากรค่านา เป็นต้น


การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย ร. 5-7 (พ.ศ. 2475)

ภายหลังการปฏิรูปการปกครองและการปฏิรูปการศึกษาในรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้มีกระแสความคิดที่จะให้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยมีรัฐสภาเป็นสถาบันหลักที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งได้มีคณะนายทหารชุดกบฏ ร.ศ.130 ซึ่งมีความคิดที่ปฏิบัติการให้บรรลุความมุ่งหมายดังกล่าว แต่ไม่ทันลงมือกระทำการก็ถูกจับได้เสีย

ก่อนเมื่อ พ.ศ.2454 ในต้นรัชกาลที่ 6

อย่างไรก็ตาม เสียงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังคงมีออกมาเป็นระยะๆ ทางหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ยังไม่ผลต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ มากนัก นอกจากการปรับตัวของรัฐบาลทางด้านการเมืองการปกครองให้ทันสมัยยิ่งขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น แต่ก็ยังไม่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศแต่ประการใด จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีคณะผู้ก่อการภายใต้การนำของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งได้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จใน พ.ศ. 2475
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย

สภาพการณ์โดยทั่วไปของบ้านเมืองก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

1.ด้านสังคม

สังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตกในทุกๆ ด้าน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิรูปแผ่นดินเข้าสู่ความทันสมัยในรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) ความจริงแล้วสังคมไทยเริ่มปรับตัวให้เข้ากับกระแสวัฒนธรรมตะวันตกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ภายหลังได้ทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษใน พ.ศ.2398 และกับประเทศอื่นๆในภาคพื้นยุโรปอีกหลายประเทศ และทรงเปิดรับรับประเพณีและวัฒนธรรมของตะวันตก เช่น การจ้างชาวตะวันตกให้เป็นครูสอนภาษาอังกฤษแก่พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบรมมหาราชวัง การให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า การอนุญาตให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าพร้อมกับขุนนางข้าราชการไทยในงานพระบรมราชาภิเษก เป็นต้น


ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงดำเนินพระบรมราโชบายปลดปล่อยไพร่ให้เป็นอิสระและทรงประกาศเลิกทาสให้เป็นไทแก่ตนเอง พร้อมกันนั้นยังทรงปฏิรูปการศึกษาตามแบบตะวันตก เพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาถึงขั้นอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็น ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย บุตรหลานขุนนาง หรือราษฎรสามัญชนที่พ้นจากความเป็นไพร่หรือทาส ถ้าบุคคลใดมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดก็จะมีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศตะวันตกโดยพระบรมราชานุเคราะห์จากผลการปฏิรูปการศึกษา ทำให้คนไทยบางกลุ่มที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก เริ่มรับ เริ่มรับเอากระแสความคิดเกี่ยวกับการเมืองสมัยใหม่ ที่ยึดถือรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากตะวันตก และมีความปรารถนาที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงการปกคราองเกิดขึ้นในประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากคำกราบบังคมทูลถวายถึงความคิดเห็นในการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะเจ้านายและข้าราชการใน พ.ศ.2427 (ร.ศ.103) หรือการเรียกร้องให้มีการปกครองในระบบรัฐสภาของ “เทียนวรรณ” (ต.ว.ส. วัณณาโภ) ในหน้าหนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้น และกระแสความคิดนี้ก็ดำเนินสืบเนื่องมาโดยตลอดในหมู่ผู้นำสมัยใหม่ที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก และจากผู้ที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก
อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้นำสมัยใหม่บางส่วนที่ได้รับผลประโยชน์จากระบบราชการสมัยใหม่ที่ตนเองเข้าไปมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ ก็ถูกระบบราชการดูดกลืนจนปฏิเสธที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสมัยใหม่ในระยะเวลาอันใกล้ เพราะมีความเห็นว่าประชาชนชาวไทยยังขาดความพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปประเทศเข้าสู่ความทันสมัย สังคมไทยก็เริ่มก้าวเข้าสู่ความมีเสรีในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น โดยเริ่มเปิดโอกาสสื่อมวลชนเสนอความคิดเห็นต่อสาธารณชนได้ค่อนข้างเสรี ดังนั้นจึงปรากฏว่าสื่อมวลชนต่างๆ เช่น น.ส.พ.สยามประเภท, ตุลวิภาคพจนกิจ, ศิริพจนภาค, จีนโนสยามวารศัพท์ ซึ่งตีพิมพ์จำหน่ายในรัชกาลที่ 5 น.ส.พ. บางกอกการเมือง ซึ่งพิมพ์จำหน่ายในสมัยรัชกาลที่ 6 และ น.ส.พ.สยามรีวิว ซึ่งพิมพ์จำหน่ายในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้เรียกร้องและชี้นำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไปสู่ระบบรัฐสภา โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการปลดปล่อยไพร่และทาสให้เป็นอิสระในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ผ่านพ้นไปได้เพียง 20 ปีเศษ ดังนั้นสภาพสังคมส่วนใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 7 ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมในระบบเจ้าขุนมูลนาย นอกจากนี้คนส่วนน้อยยังคงมีฐานะ สิทธิ ผลประโยชน์ต่างๆ เหนือคนไทยส่วนใหญ่ คนส่วนใหญ่มักมีความเห็นคล้อยตามความคิดที่ส่วนน้อยซึ่งเป็นชนชั้นนำของสังคมไทยชี้นำ ถ้าจะมีความขัดแย้งในสังคมก็มักจะเป็นความขัดแย้งในทางความคิด และความขัดแย้งในเชิงผลประโยชน์ในหมู่ชนชั้นนำของสังคมที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก มากกว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นผู้นำของสังคมไทยกับราษฎรทั่วไป



























































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น