br>

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วัดยางทอง













โครงงานวิชา ส32103 โครงงานประวัติศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2553


ชื่อโครงงาน สงขลาแต่แรก (Befor Songhlak)

รายชื่อผู้เสนอโครงงาน

นางสาวทิพย์วิมล พึ่งบุญ เลขที่20


นางสาววรรณดี ล่องแดง เลขที่ 22


นางสาวอภิชญา จันทระ เลขที่ 23


นางสาวเจนจิรา คังฆะสุวรรณ เลขที่ 25


นางสาวรัชชนก คำทอง เลขที่ 35


อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน อาจารย์การุณย์ สุวรรณรักษา

ตำแหน่ง ครูประจำวิชากลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา



ชื่อโครงงาน : สงขลาแต่แรก (Befor Songhlak)


หลักการและเหตุผล : เนื่องจากปัจจุบันประชาชนที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยในจังหวัดสงขลาส่วนใหญ่ไม่รู้ถึงประวัติความเป็นมาของถิ่นกำเนิดของบรรพบุรุษของตนทางคณะผู้จัดทำจึงรวบรวมและเผยแผ่ประวัติความเป็นมาของตำบลบ่อยางให้ประชาชนได้รู้และเข้าใจมากยิ่งขึ้นแล้วยังสามารถนำไปบอกเล่าให้ลูกหลานได้ในอนาคต

วัตถุประสงค์ของโครงงาน :

1.เพื่อเผยแผ่ประวัติความเป็นมาของตำบลบ่อยาง


2.เพื่อให้ได้ความรู้ที่สามารถพิสูจน์ได้จริง

3.เพื่อให้รู้ที่มาของบรรพบุรุษ

ขั้นตอนและวิธีการจัดทำ


1. นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนโครงร่างของโครงงาน


2. เสนอโครงร่างให้ครูผู้สอนอนุมัติ


3. เมื่อครูผู้สอนอนุมัติโครงร่างโครงงานแล้ว ให้นักเรียนเริ่มดำเนินการจัดทำ โดยทำการศึกษา รวบรวม


4. ไปศึกษาสถานที่จริง


5.แต่ละกลุ่มนำเสนอและแสดงโครงงาน ข้อมูลเก็บไว้ในBlogหรือรายงาน


ผลการศึกษา
วัดยางทอง วัดยางทอง ตั้งอยู่บ้านคลองทราย เลขที่ ๔๕ หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งหมอ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๒ งาน ๙๑ ตารางวา น.ส. ๓ เลขที่ ๒๑๗๘๔ อาณาเขต ทิศเหนือยาว ๔ เส้น ติดต่อกับถนนสาธารณประโยชน์ ทิศใต้ยาว ๔ เส้น ติดต่อกับโรงเรียนวัดยางทอง ทิศตะวันตกยาว ๓ เส้นติดต่อกับที่สวนนางสรวง ชูโนราห์ ทิศตะวันออกยาว ๓ เส้น ติดต่อถนน ทางหลวงชนบท มีที่ธรณีสงฆ์ ๓ แปลง เนื้อที่ ๒๑ ไร่ น.ส. ๓ เลขที่ ๑๕๕๘๕, ๑๕๖๑๖, ๑๗๕๑๑, พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม อาคาร เสนาสนะ ต่างๆ มีอุโบสว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๔ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๗๔ โครงสร้าง คอนกรีต ศาลาการเปรียญกว้าง ๒๔ เมตร ยาว ๓๒ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๐๖(บูรณะพ.ศ.๒๕๔๘)โครงสร้างคอนกรีต กุฏิสงฆ์จำนวน ๘ หลัง โครงสร้างเป็นไม้และคอนกรีต นอกจากนี้ยังมีหอฉันท ์โรงครัวศาลาบำเพ็ญกุศล และเมรุเผาศพ สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถสร้าง พ.ศ. ๒๔๗๓ และเจดีย์ของเก่า วัดยางทอง สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๐ เดิมชาวบ้านเรียกว่า “วัดบ้านคลองทราย” ตามชื่อบ้าน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๔ เมตร ได้ผูกพัทธสีมาวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ การศึกษาทางวัดได้เปิดให้มีการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมตลอดมา ในปี พ.ศ.๒๕๐๑ได้ขอตั้งเป็นสำนักศานศึกษาขึ้น นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ เจ้าอาวาสมี ๗ รูป คือ รูปที่ ๑ หลวงพ่อหวาน พ.ศ. ๒๔๓๔-๒๔๕๒
รูปที่ ๒ หลวงพ่อคง พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๕๕ รูปที่ ๓ หลวงพ่ออั้น พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๔๕๗ รูปที่ ๔ หลวงพ่อทุ่ม พ.ศ. ๒๔๕๗-๒๔๗๖ รูปที่ ๕ พระครูวิจิตรศาสนคุณ พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๕๒๓ รูปที่ ๖ พระใบฎีกาจรินทร์ พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๒๕ รูปที่ ๗ พระครูสุวรรณธรรมนาถ พ.ศ. ๒๕๒๖ – ๒๕๔๘ รูปที่ ๘ พระครูบัณฑิตธรรมาลังการ พ.ศ. ๒๕๔๘ - ปัจจุบัน วัดยางทองปัจจุบัน มีพระภิกษุจำพรรษา ๑๗ รูป สามเณร ๓ รูป ชี ๑ รูป ศิษย์วัด ๒ คน
อ้างอิง แผ่นพับของวัดยางทอง
www.watyangtong.com